มะระขี้นก

Last updated: 30 มี.ค. 2557  |  5948 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะระขี้นก

มะระขี้นก

สารสำคัญที่พบ
ผล  มี Charanthin (b - Sitosterol b - D - glucoside กับ 5,25 stigmastadien 3b - ol -b - D - Glucoside), Serotonin
และ Amino acids เช่น Glutamic acid, Alanine,  b - Alanine Phenylalanine, Proline,  a - Aminobutyric acid, Citrulline, Galacturonic acid จากข้อมูลงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รายงานว่าสารสกัดของผลมะระขี้นก (Momordica charantia Linn) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานได้ และเมื่อทำ การศึกษาในคนไข้โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (NIDDM)จากผู้ทดลองจำนวน 9 คน โดยการให้น้ำคั้นมะระและให้กลูโคสด้วย พบว่าสามารถลดระดับน้ำในเลือดได้ และการ บริโภคมะระนานติดต่อกัน 8-11 สัปดาห์ ก็ให้ผลเช่นเดียวกันมะระขี้นกจึงน่าจะเป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเบาหวานได้อีกทางเลือกหนึ่ง บางรายงานกล่าวว่า การให้ผงผลมะระนาน 3-7 สัปดาห์ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ประมาณ 25 %นักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาโปรตีนสกัดจากมะระขี้นก พบมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หลังทดสอบในหนู หวังพัฒนาใช้โปรตีนสกัดกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนโดยตรง รศ.ส.พญ.ดร.ศิรินทร หยิบโชคอนันต์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลจากการทดลองนำมะระขี้นกจาก จ.อ่างทอง มาสกัดโปรตีนจากเนื้อของมะระ และศึกษาถึงฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง พบมะระขี้นกมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ การทดลองนี้ศึกษาเปรียบเทียบหนูขาวปกติและหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสเตรปโตโซโตซิน พบว่า การฉีดโปรตีนสกัดจากมะระขี้นกขนาด 5 และ 10 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนัง สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูปกติและหนูเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ทีมวิจัยได้ศึกษาถึงกลไกการลดระดับน้ำตาลในเลือดของโปรตีนสกัดจากมะระขี้นก พบว่า โปรตีนสกัดนี้สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้โดยตรงจากตับอ่อน และสามารถกระตุ้นการเข้าสู่เซลล์ของน้ำตาลให้เพิ่มมากขึ้นในเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน นำมาสู่ความหวังในการสารสกัดโปรตีนจากเนื้อของมะระขี้นกที่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยผ่านกลไกกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน และการออกฤทธิ์เสมือนเป็นอินซูลินในการกระตุ้นการเข้าสู่เซลล์ของน้ำตาลให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้การศึกษาวิจัยนี้ยังเป็นการทดลองในสัตว์ทดลองเท่านั้นจะต้องมีการศึกษาวิจัยในขั้นตอนต่อไป 
 
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้